The Profezzor

Online Course

คอร์ส

หลักสูตรเฉพาะตัว ที่ผ่านการกลั่นออกมาจากทุกประสบการณ์ บนเส้นทางดนตรี ของเหล่าสุดยอดศิลปิน

เรียนร้องเพลงกับ หนึ่ง ETC

เรียนร้องเพลงกับ หนึ่ง ETC

ครั้งแรกที่หนึ่ง ETC จะมาบอกเคล็ดลับ วีธีการร้องเพลง รวมถึงการฝึกซ้อม เทคนิคเเละลูกเอื้อนที่เป็นเอกลักษณ์ อธิบายอย่างเจาะลึกถึงวิธีการออกแบบการร้อง การสื่ออารมณ์ การเลือกใช้โทนเสียงต่างๆ ในบทเพลงฮิตของ ETC หนึ่งคิดค้นเทคนิคการร้องเพลงที่เป็นแบบฉบับส่วนตัวและไม่เคยเปิดเผยให้ใครรู้มาก่อน
Show More
ตีกลองกับ พี่ดั๊ก สุทธิพงษ์ ปานคง

ตีกลองกับ พี่ดั๊ก สุทธิพงษ์ ปานคง

ประสบการณ์กว่า30ปีบนเส้นทางดนตรี ได้เล่นกับศิลปินชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศมากมาย เช่น Infinity,พุ่มพวง ดวงจันทร์, พี่เบิร์ด ธงไชย,โก้ Mr. Saxman, หนึ่ง จักรวาล, Lee Ritenour, และ วงETC นี่คือครั้งแรกกับการสอนแบบออนไลน์ ที่คุณจะได้เรียนรู้ เทคนิคการฝึกซ้อม, การเป็นมือกลองที่ดี, การรักษาTempo, การคิดลูกโซโล่, การเล่นกับวงดนตรี(Ryhthm Section) โดยสุดยอดมือกลองของไทย พี่ดั๊ก สุทธิพงศ์ ปานคง
Show More

MORE COURSES SOON

Our Client Testimonials

บทความ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vestibulum consectetur eros dolor,
sed bibendum turpis luctus eget

The Profezzor workshop 2023

ผ่านไปแล้วอย่างเข้มข้น ได้ความรู้และความบันเทิง ในงานThe Profezzor workshop #1วันที่ 14 ต.ค. 2023 ที่ Yamaha music hallมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้ามาชมกันมากมาย ทั้งน้องๆวง MXFRUIT ที่มาแจมร้องกับพี่หนึ่ง และ น้องกัปตัน JJSON ,ต้า ฐิติพล ,คามัส มาร่วมฟังบรรยาย อีกด้วยด้วยช่วงเช้าโดยพี่หนึ่ง ETC สอนเรื่องการร้องเพลง เทคนิคการตีความเพลง เพิ่มเสน่ห์ให้การร้อง และแบบฝึกหัดเยอะแยะที่จะช่วยยกระดับการร้องเพลงช่วงบ่าย พี่ดั๊ก สุทธิพงษ์ สอนเรื่องการตีกลอง แนะนำ Basic ที่พี่ดั๊กเริ่มต้นฝึก จนถึงการนำไปประยุกต์ใช้เป็น solo ที่สลับซับซ้อนและน่าสนใจเรามีน้องผู้ชนะ Drums cover challenge ทั้ง 3 คนมาร่วมงาน และมาแจมตีกลองเพลงที่พี่ดั๊กแต่ง DSP Funk สดๆบนเวทีพวกเราขอบคุณที่สนใจกิจกรรม Workshop ครั้งนี้กันหวังว่าจะได้แรงบันดาลใจและไฟในการเล่นดนตรีจากวิทยากรของเรานะครับ The Profezzor Team รอที่จะได้มาพบปะกับทุกคนในกิจกรรม The Profezzor Workshop ในโอกาสต่อไปครับไปดูบรรยากาศงานกันได้เลยครับ https://fb.watch/nVV5enAkNb/

อ่านต่อ

หลักการ 12 ข้อสู่การเป็นมือกลองที่ดี

หลักการ 12 ข้อสู่การเป็นมือกลองที่ดีเรารวบรวมมา 12 ข้อที่เป็นคุณสมบัติที่สุดยอดมือกลองทุกคนมีอยู่1.มีจังหวะในใจ (นาฬิกาในตัวเอง) ที่เดินเที่ยงตรงและแม่นยำ2.ตีกลองออกมาเสียงดี3.มีทักษะและเทคนิคดีพอสำหรับการถ่ายทอดความคิด, อารมณ์ความรู้สึกและเสียงในใจออกมาผ่านการตีกลอง4.ควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายให้เล่นตามที่ใจสั่งได้อย่างคล่องตัว เล่นออกมาเป็นธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องพยายาม5.สร้างอารมณ์เรื่องราวในการเล่น โดยการใช้ Dynamic และการหยุดให้ถูกที่ถูกเวลา6.มีความหลงไหลในดนตรีอย่างแท้จริงและลึกซึ้ง7.ไม่หยุดค้นหาพัฒนาจนกว่าเจอเสียงและสไตล์การเล่นเฉพาะของตัวเอง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ที่มีเพียงเราคนเดียวเท่านั้นที่ทำได้8.การเป็นมือกลอง หน้าที่หลักๆคือเล่นเพื่อรักษาจังหวะชีพจรของวง มากกว่าเล่นเพื่อความสะใจของตัวเอง9.ศึกษาเพลงที่จะเล่นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้10.เปิดใจเปิดหูรับฟังเครื่องดนตรีชิ้นอื่นที่กำลังเล่นพร้อมๆกัน เพื่อหาช่องที่เหมาะสมในการเล่นสอดประสานกัน ตื่นตัวอยู่ตลอด หูตาต้องไว (อย่าแค่ตีกลองแบบเหม่อๆ)11.ปล่อยใจไปกับเพลง ไปกันเพื่อนร่วมวง และควบคุมจังหวะเพลงให้ดีที่สุด ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมือกลองคือคนคุมชีพจรทั้งหมดของเพลง12.กล้าที่จะทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงเพื่อยกระดับเพลงขึ้นไปอีก เมื่อถึงเวลาที่สัญชาตญาณสั่งให้ทำจริงๆแล้วยังมีอีกมากมายหลายข้อ ที่คัดเลือกมาที่นี่คือข้อหลักๆที่มือกลองควรจะคำนึงอยู่ตลอด เพื่อช่วยยกระดับการเล่นของตัวเอง, ของวงและสร้างเสน่ห์ให้การเล่นของเราเองมีเอกลักษณ์น่าฟังและน่าจดจำEnjoy The Groove ♪ 🥁 

อ่านต่อ

การบันทึกเสียงดนตรีสดพร้อมกันทุกชิ้น

การบันทึกเสียงดนตรีสดพร้อมกันทุกชิ้นRecord Live Performanceการอัดเสียงดนตรีเล่นสดพร้อมกันทั้งหมดทุกชิ้นให้ออกมาดี สมบูรณ์แบบ ถือเป็นภารกิจที่ท้าทายนักร้องนักดนตรีทุกยุคทุกสมัยมาตลอด เพราะต้องอาศัยการซ้อมอย่างหนัก, เพื่อเล่นให้ถูกต้องแม่นยำแน่นอน พร้อมกันทั้งวง ซึ่งทุกๆคนจะต้องรวมใจเป็นหนึ่งเดียว ตั้งใจอย่างที่สุด เพื่อให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด และจะต้องไม่มีที่ว่างให้สำหรับความผิดพลาดเลยแม้ว่าปัจจุบันเราจะมีเทคโนโลยีการบันทึกเสียงที่ทันสมัยมากแค่ไหนก็ตาม  sound engineer สามารถแก้ไข edit ภายหลังได้  แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยก็คือ การแสดงที่ยอดเยี่ยม (Great Performance) สิ่งนี้เต็มไปด้วยอารมณ์และความคิดและความรู้สึกของผู้เล่น ปฏิสัมพันธ์ของนักดนตรีที่เกิดขึ้นในตอนนั้น เหล่านี้คือสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขหรือตัดต่อเอาเองภายหลังได้เพราะทุกอย่างมาจากนักร้องนักดนตรีผู้ถ่ายทอดผ่านบทเพลงที่เขาเล่นออกมาจากหัวใจของเขา เพื่อส่งไปถึงใจของคนฟัง ♪ ♥️ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในการแสดงนั้นๆ มักจะเป็นความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละเทค ในแต่ละครั้งที่ได้เล่น ไม่มีทางที่จะทำซ้ำหรือเลียนแบบให้ได้อารมณ์ความรู้สึกเหมือนเทคก่อนหน้าได้เลย เพราะในทุกๆ Performance ล้วนมีเสน่ห์เฉพาะตัวที่ต่างกันด้วยตัวของมันเอง ในการบันทึกเสียง Sound engineer ทำหน้าที่เก็บช่วงเวลาที่ดีนั้นไว้ให้ได้ครบทุกเสียง ทุกเม็ดดนตรีด้วยอุปกรณ์บันทึกเสียงให้ได้ดีที่สุด  ขั้นตอนการทำงานคือ นักดนตรีมักจะเล่นแต่ละเพลงประมาณ 1-3 เทค (ไม่มากกว่านี้ เพราะยิ่งเล่นมากเท่าไหร่อารมณ์ความสด ความตื่นเต้นจะค่อยๆเริ่มจางหายไปเรื่อยๆในแต่ละเทค) พอเสร็จแล้วจึงเลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุดมาใช้และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้หลายๆคนติดตามการแสดงสดของศิลปินที่ชื่นชอบ ตามไปดูทุกๆที่ทุกเวที เพราะในแต่ละครั้งแต่ละเวที แต่ละวันที่เล่นเพลงเดิมๆแต่มักจะได้ความรู้สึกใหม่ๆอยู่เสมอนี่คือเสน่ห์ของแสดงสดและการบันทึกเสียงสด ที่ยังคงมีเสน่ห์อยู่เสมอตลอดมาและตลอดไป 📷 ขอบคุณภาพจาก Move Records 

อ่านต่อ

เทคนิค “การร้องเพลงคู่”

เทคนิค “การร้องเพลงคู่”การร้องเพลงให้เพราะและสื่ออารมณ์ถึงคนฟัง อาศัยการตีความของนักร้องเป็นหลักเพื่อถ่ายทอดออกไปในแบบที่นักร้องคนนั้นๆต้องการ แต่การร้องเพลงคู่จะมีความแตกต่างกับการร้องเพลงคนเดียวอยู่พอสมควร เพราะว่ามีนักร้องอีกคนที่กำลังร้องอยู่กับเราในเพลงเดียวกัน แล้วเค้าคนนั้นจะตีความเหมือนหรือต่างกันกับเราอย่างไร เราเองควรทำอะไรด้วยกันที่จะช่วยกันพาให้เพลงออกมาดีที่สุด สื่อเข้าไปถึงใจคนฟังได้มากที่สุด แต่ละคนต่างมีแนวคิดของตัวเองที่แตกต่างกัน ลองมาดูวิธีที่นักร้องเก่งๆเค้าใช้กัน1.จะต้องวางแผนการร้องให้ดี2.เช็คคีย์เพลงที่เหมาะกับทั้งคู่3.แบ่งท่อนร้อง ในท่อนที่เหมาะกับเสียงตัวเอง4.ช่วยกันประสานเสียงกันเพื่อสร้างสรรค์มิติให้กับเสียงร้อง5.สื่อสารส่งอารมณ์เพลงให้กันและกัน6.เรียนรู้เรื่องราวของเนื้อเพลงที่จะถ่ายทอด และอื่นๆอีกมากมาย  สุดท้ายการร้องเพลงคู่ให้ออกมาดี ก็คือทำให้เพลงที่ร้องอยู่เพราะที่สุดเพราะเข้าไปถึงใจคนฟังให้ได้ ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่ 🎤 happy singing ♪

อ่านต่อ

Groove

            หลายคนก็อาจจะนิยามความหมายของคำว่า Groove ที่แตกต่างกันออกไป อาจจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลา หรือขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการตีกลองและเล่นดนตรีในชีวิตของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เลยทำให้เรานิยามความหมายของคำว่า Groove แตกต่างกันไป…             สำหรับตัวผมเองในช่วงแรกๆของการเริ่มตีกลองใหม่ๆก็จะเข้าใจและให้ความหมายของคำว่า Groove แบบนึง กล่าวคือ Groove หมายถึงความชัดเจนและความแข็งแรงของจังหวะที่เรากำลังตีและเล่นอยู่ มีเสียงกระเดื่องอยู่ที่บีท 1,3 มีเสียงสแนร์อยู่ที่บีท 2,4 และมีเสียงไฮแฮทที่เป็นลักษณะตัวโน้ต 8 โน้ตที่เล่นควบคู่กันไป โดยตัวเรามีหน้าที่ควบคุมและบาลานซ์เสียงของกระเดื่อง,สแนร์,ไฮแฮทให้มีเสียงที่ออกมากลมกลืนและเท่าๆกัน ไม่มีเสียงหนึ่งเสียงใดที่ดังไปมากกว่ากัน หรือในบางที ผมก็จะนิยามความหมายและเปรียบเปรยคำว่า Groove เป็นเหมือนกับการสั่นสะเทือนหรือการเต้นของชีพจรที่อยู่ในของตัวเรา ถ้าเราสัมผัสถึงการสั่นสะเทือนของชีพจรเราได้ เราก็จะรู้สึกถึงลักษณะแห่งการเต้นที่เป็นจังหวะของมัน และลักษณะที่ว่านั้น มักจะเต้นหรือสั่นสะเทือนเป็น Querter Note เสมอ นั่นคือช่วงแรกๆของการนิยามความหมายของคำว่า Groove ที่ผมมั่นใจ https             ในช่วงเวลาต่อมา ตัวผมเองก็ได้เริ่มฝึกฝนการตีกลองในแบบที่เข้มข้นมากขึ้น และนำเอาความเข้าใจที่มีเกี่ยวกับคำว่า Groove จากในช่วงแรกๆของการตีกลองนั้นมาเพิ่มความเข้มข้นในการฝึกฝนมากขึ้นเช่นกัน โดยมี metronome และ backing track เป็นอาจารย์ผู้สอนจนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นใน Groove กระเดื่อง,สแนร์และไฮแฮทของตัวเองมากถึงมากที่สุด และบอกกับตัวเองด้วยความมั่นใจว่านี่คือความหมายของคำว่าGroove อย่างแท้จริง แต่ในช่วงเวลานั้นประสบการณ์ในการเล่นที่เป็น Band ของผมยังไม่ค่อยมีเท่าไร แต่ก็ได้ฟัง ได้รู้ ได้ดู และได้เห็นจากสื่อต่างๆเพิ่มขึ้นมากในระดับนึง และจากความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้นนี้เอง ก็เลยเกิดมีข้อสงสัยแล้วก็แอบถามตอบกับตัวเองในใจขึ้นมาว่า ถ้าเราจะนิยามความหมายคำว่า Groove ที่มันจะเกิดมีขึ้นได้แค่เฉพาะเสียงกระเดื่อง,สแนร์,ไฮแฮทแค่นั้นแล้วก็ยึดครองมาเป็นกรรมสิทธ์ของเราแต่เพียงผู้เดียวก็คงไม่ผิดอะไร !! แต่เอ๊ะ !! แล้วถ้าเครื่องมืออื่นๆที่เค้าไม่ได้มีเสียงกระเดื่อง,สแนร์และไฮแฮทที่เหมือนเราหล่ะเค้าจะทำอย่างไร ? และถ้าเค้าต้องการที่จะเล่น จะสร้างหรือนิยามความหมายของคำว่า Groove ในแบบฉบับของเค้าบ้างเค้าจะทำได้อย่างไง ? ฟังดูเหมือนเป็นคำถามที่ธรรมดาคำถามนึงของมือกลองวัยรุ่นไฟแรงคนหนึ่ง แต่จริงๆแล้วมันเป็นการถามตอบที่แอบเคลือบแฝงความมีอีโก้อยู่ในนั้นมากพอสมควร กระหยิ่มยิ้มย่องว่าฉันเก่งฉันเจ๋ง เครื่องมือที่ฉันเล่นมีความยากในการฝึกและในการเล่นมากกว่าเครื่องอื่นๆ ทุกคนต้องฟังฉัน เพราะฉันเป็นเจ้าของและเป็นผู้มอบคำว่าGroove ให้กับทุกๆคนในทุกๆเครื่องมือ??                เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปความรู้สึกนึกคิดและมุมมองต่างๆในการตีกลองและการใช้ชีวิตของผมก็เริ่มค่อยๆเปลี่ยนไปบ้าง การฝึกฝนและการพัฒนาตนเองก็ยังคงมีอยู่แต่ก็ไม่เข้มข้นเหมือนอย่างกับในช่วงแรกๆ สิ่งที่มาช่วยลดความเป็นมือกลองวัยรุ่นไฟแรงของผมลงได้บ้างก็คือการที่ผมได้เริ่มเล่นกับ Band ที่เป็นวง ไม่ใช่เล่นแต่กับ Metronome หรือแต่กับ Backing Track เหมือนอย่างที่เคย ไม่ได้ตีกลองที่อยู่แต่แค่ในโลกของตัวเองเพียงคนเดียวอีกต่อไป เพราะผมได้เริ่มเล่นดนตรีกับคนจริงๆตัวเป็นๆ และมันคือการเล่นดนตรีที่เป็นดนตรีจริงๆ แอบตื่นเต้นอยู่บ้างนิดหน่อย แต่ก็ยังคงมีความคิดและความมั่นใจใน Groove แบบเดิมๆ เพิ่มเติมคือเทคนิคใหม่ๆเพียงเล็กน้อยของตัวเองที่ได้จากการฝึกซ้อมอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ในใจคิดอยู่ตลอดเวลาว่า ทุกคนทุกเครื่องมือต้องฟังและรอการมอบกระเดื่อง,สแนร์และไฮแฮทจากผมเท่านั้น และในขณะที่ผมกำลังจะนับเพื่อขึ้นเพลง แต่แล้วอยู่ๆทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ผมคิด ไม่ได้เป็นอย่างที่ผมซ้อมมา และไม่ได้เป็นอย่างที่ผมมั่นใจเหมือนก่อนหน้านี้ แน่นอนครับว่าช่วงเวลาที่ผมกำลังจะพูดถึง มันก็คือการที่ผมได้เห็นและได้ยินมือคีย์บอร์ดในวงขึ้นเพลงเอง และมือกีตาร์สับคอร์ดโซโลตามมา เมโลดี้ที่ลื่นไหลจากแซ็กโซโฟนลอยมาสมทบตบท้ายด้วยเสียง slap bass ที่สุดจะเร้าใจ โดยที่ผมยังไม่ได้คำรามหรือส่งเสียง Groove ที่ผมคิดว่าผมเป็นเจ้าของและผมเท่านั้นที่จะเป็นผู้มอบมันให้กับทุกๆคนเลย แต่ทำไมทุกคนทุกเครื่องมือถึงเล่นกันได้พร้อมเพียงและแข็งแรงอย่างน่าอัศจรรย์ มันเป็นแปดบาร์ที่ทำให้ผมอึ้ง ลุ้น ตื่นเต้นว่ามันจะไปต่ออย่างไร และมันจะจบลงที่ตรงไหน แน่นอนครับ สุดท้ายทุกอย่างก็จบลงและผ่านไปได้ด้วยดี ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผมในตอนนั้นเมื่อเพลงที่เล่นได้จบลง มันชั่งพร่างพรายงดงามเกินกว่าจะหาคำพูดใดๆมาบรรยาย และจากการที่ได้เห็นได้ยิน ได้ฟัง และได้ร่วมเล่นเป็นส่วนหนึ่งใน Band และเป็นส่วนหนึ่งในบทเพลงเพลงนั้นแล้ว การนิยามความหมายและความคิดของผมที่ว่า  Groove นั้นหมายถึงจะต้องมีแต่เฉพาะเสียงกระเดื่อง,สแนร์และไฮแฮทเท่านั้นไม่ใช่อีกต่อไป มุมมองและความคิดเก่าๆแบบนั้นก็หายไปโดยสิ้นเชิง มันเป็นคำตอบของทุกๆคำถามที่อยู่ในใจ และที่สำคัญไปกว่านั้น มันยังช่วยละลายพฤติกรรมและละลายการมีอยู่ของอีโก้ในตัวผมที่มีอยู่มากลงเสียได้ ทุกคนในทุกๆเครื่องมือสามารถที่จะเล่น จะสร้างและนิยามความหมายของคำว่า Groove ในแบบฉบับของตัวเองได้อย่างอิสระโดยไม่มีข้อสงสัยเลย และตัวผมเองก็เริ่มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิด เริ่มมองหาและนิยามความหมายของคำว่า Groove ในมุมมองใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน Sense Of Rhythm               จากปัจจุบันนี้ แล้วลองมองย้อนกลับไปในทุกๆช่วงเวลาของอดีตที่ผ่านมา ถ้าถามผมในตอนนี้ว่าผมจะอธิบายหรือนิยามความหมายของคำว่า Groove อย่างไรนั้นต้องยอมรับเลยครับว่าถึงตอนนี้ ผมเองก็ไม่ค่อยมีความมั่นใจที่จะอธิบาย หรือนิยามความหมายที่แน่ชัดของมันจริงๆได้เหมือนกับในช่วงแรกๆที่ผมเริ่มตีกลองใหม่ๆได้เลย  แต่ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ การฝึกฝนและการเรียนรู้ในศาสตร์แห่งดนตรีของผมจะยังไม่สิ้นสุดลงแน่นอนครับ และจากการที่ผมได้ตีกลองและเล่นดนตรีมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานประมาณนึง บวกกับประสบการณ์ที่หลากหลายในทุกๆช่วงของชีวิต ได้ฟังได้รู้ ได้ดู ได้เห็นมาโดยตลอด มาจนถึงในตอนนี้ ผมก็ได้เจอกับสิ่งใหม่ที่อยากจะเล่า อยากอธิบาย และแชร์เป็นไกด์ไอเดียให้ทุกท่านที่ได้อ่านลองพิจารณาตามกันดู แต่มันอาจจะไม่ถูกต้องไปซะทั้งหมดนะครับ ผมคิดว่าความหมายของคำว่า Groove สำหรับผมในช่วงนี้มันหมายถึง " ความรู้สึก " Sense of rhythm ที่มีองค์ประกอบหลักๆอยู่สี่อย่าง คือ                     - Rudiments   ( กลุ่มตัวโน้ตและ stroke ของมือซ้ายมือขวา )                    - Time              ( อัตราจังหวะ )                   - Emotion       ( อารมณ์                  หรือความรู้สึกที่เรามีต่อจังหวะนั้นๆที่เรากำลังเล่นอยู่นั่นแหละครับ  ตามภาพประกอบจะเห็นว่าผมมีRudiments ซึ่งมันก็คือ ( กลุ่มของตัวโน้ตและ Stroke ของมือซ้ายมือขวาที่ตีในรูปแบบต่างๆ )เป็นตัวตั้งต้นตามมาด้วย Time ( คืออัตราจังหวะ )ซึ่งเราจะต้องรักษาtime feel ของ Ruiments ที่เราเพิ่งเล่นไปให้ตรงจังหวะต่อด้วย Emotion ( อารมณ์ )และ Feel ( รู้สึก )คือเราจะต้องค่อยๆใส่อารมณ์มันเข้าไปใน Rudiments และTime ที่เรากำลังเล่นอยู่ รู้สึกให้ได้ว่าเรากำลังสร้างและเล่นอยู่กับมัน เติมเต็มให้มันจนครบองค์ จนมันกลายเป็นมวลของพลังอารมณ์แล้วส่งออกไปเป็น Feelling ( คือความรู้สึก )ในท้ายที่สุด และเมื่อเราทำมันเป็นประจำซ้ำๆบ่อยๆแล้ว หูของเราจะจำเสียงและสำเนียงได้ มือและขาทั้งสองข้างจะจดจำน้ำหนักที่ลงบนกลองได้ดีและไม่แน่ว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมานอกจากเราจะได้Groove ที่แข็งแรงและเต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์และความรู้สึกแล้ว เรายังอาจจะได้ Groove ที่เป็น Original Groove ของเราเองก็เป็นได้ และนี่คือทั้งหมดที่ผมพอจะอธิบายได้ในช่วงเวลานี้ครับ              มาจนถึงทุกวันนี้ผมมีความเชื่อลึกๆครับว่า อาจจะมีอีกหลายๆสิ่งบนโลกใบนี้ ที่เรายิ่งรู้และเข้าใจมันมากแค่ไหนเพียงใด บางทีบางครั้ง เราก็ยิ่งไม่สามารถที่จะอธิบายหรือสื่อสารมันออกมาได้ด้วยคำพูดเลยจริงๆหรือไม่บางทีมันก็อาจจะไม่ต้องการคำนิยามใดๆมาตีกรอบมันตั้งแต่แรกก็เป็นได้ อาจจะเป็นแต่ที่ตัวเราว่าจะเลือกใช้ภาษาหรือเครื่องมือใดๆในการสื่อสารสิ่งที่เรียกว่า Groove นั้นออกไปอย่างไร และแน่นอนที่สุดสำหรับผมในฐานะมือกลอง สิ่งนั้นก็คือ “ เสียงกลอง “ที่ผมกำลังเล่นหรือตีมันออกไปให้ผู้คนทั้งหลายได้รับฟังกันครับ.              ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนจบนะครับ และหวังว่าบทความนี้คงจะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ              ขอให้มีความสุขกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มีความสุขกับตีกลองและเล่นดนตรีทุกท่านนะคร้าบ ขอบคุณและสวัสดี                                                                               Duck Suttipong Pankong

อ่านต่อ

เกี่ยวกับเรา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีในวงการเพลง ถือเป็นโชคดีของพวกเราที่ได้มีโอกาสร่วมงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังกับศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรี, นักแต่งเพลงและพี่ๆน้องๆคนดนตรีมาอย่างมากมาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ถือว่าเป็นยอดฝีมือในสาขาของตัวเอง
ได้รับการยอมรับจากแฟนเพลง, บุคคลทั่วไป และจากคนทำงานทั้งวงการ

ทำให้เราตั้งข้อสังเกตว่าท่ามกลางการแข่งขันที่สูงมากขนาดนี้ บุคคลเหล่านี้ มีวิธีการนำพาตัวเองไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไรกัน

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราอยากจะให้ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัสและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงบนเส้นทางแห่งความสำเร็จของพวกเขา

The Profezzor จึงเกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นสะพาน เชื่อมต่อประสบการณ์ของวิทยากรกับผู้เรียนในรูปแบบคอร์สออนไลน์ ที่ผู้เรียนรู้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถสอบถามคำถามต่างๆกับวิทยากรได้โดยตรง คอร์สนี้จะเปิดเผยตั้งแต่จุดเริ่มต้น และจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้วิทยากรเหล่านี้ ยกระดับตัวเองขึ้นมาจนศิลปินที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างจนถึงทุกวันนี้

เราเชื่อมั่นว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์ ของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว จะช่วยย่นระยะเวลาในการมุ่งไปสู้เป้าหมายของคุณได้อย่างมาก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า The Profezzor จะเปิดโลกใบใหม่บนเส้นทางดนตรี และช่วยพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี ทั้งทักษะในการปฏิบัติและเปิดมุมมองใหม่ๆทางด้านความคิดและแรงบันดาลใจกับทุกคน

Let’s Keep The Music Alive The Profezzor Team

ทีม

Phasellus suscipit nisi hendrerit metus pharetra dignissim. Nullam nunc ante, viverra quis
ex non, porttitor iaculis nisi.

โซ่ ETC

โซ่ ETC

FOUNDER

มือคีย์บอร์ดและหัวหน้าวง ETC วงดนตรีที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในวงที่มีสำเนียงและเอกลักษณ์ชัดเจนที่สุด ทั้งเพลงและการแสดงสด กวาดรางวัลมามากมายจากหลายสถาบัน

Mac ศรันย์

Mac ศรันย์

FOUNDER

แม็ค ศรัณย์ เป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง ที่มีผลงานเพลงฮิต ติดชาร์ตอันดับหนึ่งมาแล้วมากมาย ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีในวงการ

Tim A cappella7

Tim A cappella7

FOUNDER

20 ปีกับการร้องเพลงประสานเสียงแบบไม่ใช้เครื่องดนตรี มีผลงานออกมา 3 อัลบั้มด้วยกัน โดยอัลบั้มที่สอง Big Daddy ได้รับรางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม และ รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม สีสันอวอร์ดปี 2546

Waiting for redirect..